วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ไข่ต้มชาเขียว



เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ปวดเมื่อหลังส่วนล่าง ขาเข่าอ่อนแรง หรือมีบุตรยากจากไตอ่อนแอ, ผู้ที่เลือดและพลังพร่อง ระบบย่อยทำงานผิดปกติ

 ส่วนผสม
 1. ใบชาเขียว 绿茶  (Lu Cha) 3 ช้อนโต๊ะ
 2. ไข่ไก่ 鸡蛋  20 ฟอง
 3. โป๊ยกั๊ก  大回香 (Da Hui Xiang) 2 ชิ้น
 4. เสียวไหว่เฮียง 小回香 (Xiao Hui Xiang)   1 ช้อนโต๊ะ
 5. เต็งเฮียง 丁香 (Ding Xiang) 1 ช้อนโต๊ะ
 6. เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ

** ลดขนาดส่วนผสมได้ตามอัตราส่วนข้างต้น **

小回香 Xiao Hui Xiang
โป๊ยกัก



 วิธีการทำ:
 1. ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในกระทะ เติมน้ำเย็นพอท่วม
 2. ต้มจนน้ำเดือด แล้วลดไฟลง เคี่ยวเป็นเวลา 10 นาทีจนได้ไข่ต้ม
 3. นำไข่ออกมา ทำให้เย็นลงด้วน้ำ
 4. เคาะไข่เบา ๆ ให้เปลือกแตก แต่ไม่ต้องปอกเปลือกออก
 5. ใส่ไข่ต้มกลับไปเคี่ยวต่อในกระทะ นาน 30 นาที
 6. ปิดไฟ แช่ไข่ในชา จนกว่าจะเย็นพอที่จะแกะเปลือกได้



การออกฤทธิ์
 1. บำรุงพลัง(ชี่) และเลือด
 2. เสริมสร้างหัวใจ ปอด ตับ ไต ม้าม และกระเพาะอาหาร
 3. แก้ไขพลังติดขัดในจงเจียว เช่น ท้องอืด เบื่ออาหาร  คลื่นไส้และอาเจียนเป็นต้น
 4. บำรุงหยางของไต รักษาภาวะมีบุตรยาก
 5. รักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และปวดขา เนื่องจากหยางของไตพร่อง


ข้าวต้มเหง็กเต็ก

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่มีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้ มีไข้ต่ำๆทุกวัน


ส่วนประกอบ
  • เหง็กเต็ก 玉竹 (Yu Zhu) 20 กรัม
  • ข้าวสาร 50 กรัม
  • น้ำตาลกรวดเล็กน้อย
 

วิธีทำ
  • นำเหง็กเต็กมาต้มน้ำ เคี่ยวให้เป็นน้ำยาเข้มข้น ตักกากทิ้ง
  • ใส่ข้าวสารลงไป เติมน้ำอีกเล็กน้อยแล้วต้มต่อ ให้เป็นข้าวต้มเหลวๆ
  • ใส่น้ำตาลกรวดตามชอบ เคี่ยวต่อจนเดือด แล้วยกลงพร้อมรับประทาน


การออกฤทธิ์

บำรุงปอด แก้กระหาย
 

ข้อควรระวัง

ผู้ที่ไอมีเสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นประจำ และลิ้นเป็นฝ้าขาว ห้ามรับประทาน

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข้าวต้มแปะฮะ

เหมาะสำหรับ
ผุ้ที่มีอาการไอเรื้อรัง หรือเพิ่งหายป่วยแล้วยังมีไข้ต่ำๆ

ข้าวต้มแปะฮะ

 
ส่วนประกอบ

 
ฺ百合 Bai He
แปะฮะ

วิธีทำ
  • แช่แปะฮะในน้ำ 1 ชั่วโมง
  • ต้มแปะฮะที่แช่น้ำจนนิ่ม พร้อมกับข้าวสารจนสุก
  • เติมน้ำตาลกรวดตามชอบ เคี่ยวจนละลาย ปิดไฟ พร้อมรับประทาน
 


การออกฤทธิ์

เสริมหยิน บำรุงปอด และหัวใจ แก้ไอ  ผ่อนคลายความเครียดในเส้นลมปราณหัวใจ มีอาการอัดแน่นในหน้าอก


ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีอาการไอหวัด หรือไอติดเชื้อ ท้องเสียเรื้อรัง ห้ามรับประทาน

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ตุ๋นกระเพาะปลาเพื่อการบำรุง

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่เลือดพร่อง หรือเสียเลือด หญิงหลังคลอด ผู้สูงอายุ 

 

ส่วนประกอบ

 

วิธีทำ
  • ล้างสมุนไพรทั้งหมด และกระดูกแก้ว
  • ใส่สมุนไพรทั้งหมดและกระดูกแก้วลงในถ้วย หรือโถทนความร้อน
  • เติมน้ำประมาณหนึ่งถ้วยกาแฟ หรือให้ท่วมส่วนประกอบทั้งหมด
  • ปิดฝาโถ แล้วนำโถไปนึ่งในซึ้งนาน 2 ชั่วโมง
  • ปรุงรสด้วยเกลือ
 

การออกฤทธิ์
บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงเลือด เสริมหยิน เสริมสาร"จิง" ห้ามเลือด

ข้าวต้มเก็กฮวย

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่มีอาการปวดหัว วิงเวียน ร้อนใน ตาแดง ความดันโลหิตสูง

 
ส่วนประกอบ
 
菊花 Ju Hua
เก็กฮวย

วิธีทำ
  • ต้มน้ำ 600 ซีซี ให้เดือด
  • ใส่เก็กฮวยลงต้ม เมื่อน้ำเริ่มเดือดอีกครั้ง ให้ช้อนเก็กฮวยออก
  • ใส่ข้าวสารที่ซาวแล้ว ลงต้มในน้ำเก็กฮวย
  • เมื่อเม็ดแตกพองดีแล้ว ให้ปิดไฟ รับประทานได้ทั้งข้าวและน้ำ

การออกฤทธิ์
  • ดับร้อน 
  • ดับพิษร้อนในตับ 
  • ช่วยลดความดันโลหิต 
 

ข้อควรระวัง

ไม่เหมาะกับผู้ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดี  อุจจาระเหลวเป็นประจำ ความดันโลหิตต่ำ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข้าวต้มแบะตง

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่มีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ปากแห้ง คอแห้ง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ


ส่วนประกอบ
  • ข้าวสาร 50 กรัม
  • แบะตง 15 กรัม
  • อั่งจ้อ 3 ลูก
  • น้ำตาลกรวด เล็กน้อย
แบะตง

 

วิธีทำ
  • แช่แบะตงในน้ำอุ่นให้พอนิ่ม
  • นำมาต้มในหม้อพร้อมข้าว พุทราจีน และน้ำตาลกรวด
  • เคี่ยวส่วนผสมทั้งหมดไปเรื่อยๆ จนกว่าแบะตงจะเปื่อย
  • ทานได้ทั้งข้าวต้ม อั่งจ้อและแบะตง


การออกฤทธิ์

บำรุงกระเพาะอาหาร ปอด หัวใจ  และเลือด

อึ่งคี้ตุ๋นไก่ดำ

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ผู้สูงอายุ และผู้ต้องการบำรุงร่างกาย



ส่วนประกอบ
 
อึ่งคี้ หรือปักคี้

วิธีทำ
  • ล้างไก่ดำให้สะอาด สับเป็นชิ้น
  • ตั้งน้ำต้มอึ่งคี้จนเดือด
  • ใส่ไก่ และเก๋ากี้ลงในหม้อ เมื่อน้ำเริ่มเดือดอีกครั้ง ให้หรี่เป็นไฟอ่อน
  • ต้มด้วยไฟอ่อนนานสองชั่วโมง แล้วปิดไฟ
  • ปรุงรสตามชอบ


การออกฤทธิ์

บำรุงเลือดและพลัง ปรับการไหลเวียนของโลหิต


ซุปหวาน สาลี่ เก็กฮวย แปะฮะ เห็ดหูหนูขาว

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือผู้ร้อนในง่าย ได้รับพิษร้อน 


ส่วนประกอบ:
แปะฮะแห้ง


วิธีทำ:
  • ล้าง และแช่ เห็ดหูหนูขาว และไหว่ซัวในน้ำเป็นเวลา 30 นาที
  • ถ้าใช้แปะฮะแห้ง ให้ล้างและแช่น้ำ 1 ชั่วโมง
  • ล้างแปะฮะ และเก๋ากี้
  • ปอกเปลือกสาลี่ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • ล้างเก๊กฮวย
  • ต้มน้ำ 4 ลิตร เมื่อน้ำเดือดให้ใส่เก๊กฮวยลงต้มต่อจนมีกลิ่นหอม
  • ช้อนเก๊กฮวยออก
  • ใส่ไหว่ซัว แปะฮะลงต้มจนนุ่ม
  • ใส่เห็ดหูหนูขาว และเก๋ากี้ลงต้มต่อ
  • ใส่สาลี่ และน้ำตาลกรวดลงต้ม
  • รับประทานได้ทั้งเมนูร้อนและเย็น


การออกฤทธิ์
  • บำรุงหยิน
  • บำรุงพลัง(ชี่)
  • ลดหยาง แก้อาการเกี่ยวกับตา
  • สร้างสารเหลวในร่างกาย ลดความแห้ง
  • รักษากลุ่มอาการ Xiao Ke (กระหายน้ำบ่อย,  มักเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน)
  • หล่อเลี้ยงปอด หยุดอาการไอ
  • บำรุงหยินของกระเพาะอาหาร และประสานจงเจียว
  • ดับร้อนขับพิษ
  • ดับร้อน สงบจิตใจ

มะระดอง

เหมาะสำหรับ
ผู้มีอาการร้อนใน, เจ็บตา 


ส่วนประกอบ:

วิธีทำ:
 1. ล้างแล้วหั่นมะระจีน เป็นชิ้นเล็ก
 2. ลวกมะระ แล้วแช่ในน้ำผสมน้ำแข็งจนเย็นจัด แล้วนำขึ้นสะเด็ดน้ำ
 3. นำมะระ และเก๋ากี้ แช่ในน้ำอัดลม ปิดฝาภาชนะ
 4. ทิ้งไว้อย่างน้อยอย่างน้อย 24 ชั่วโมง


การออกฤทธิ์
  • สงบตับ
  • ขจัดความร้อน ทำให้ดวงตาสดใส เห็นภาพชัดเจนขึ้น
  • แก้กระหายน้ำ
  • แก้ไขโรคร้อน เจ็บคอ และเจ็บตา
เพิ่มคำบรรยายภาพ

สตูว์เนื้อ แปะฮะ เห็ดหูหนูดำ

เหมาะสำหรับ
การพร่องของหยาง(ธาตุร้อน) / ความดันโลหิตสูง, โรคนอนไม่หลับ, โรคอัลไซเมอร์, ผู้สูงอายุ, โรคโลหิตจาง


ส่วนประกอบ 
  •  เนื้อวัวส่วนต้นขา 200 กรัม
  •  แปะฮะ 百合 (Bai He) แห้ง 9 กรัม
  •  เห็กหูหนูดำ 15 กรัม
  •  เห็ดหอมแห้ง 8 กรัม
  •  อั่งจ้อ 红枣 (Hong Zao) 4 ลูก แกะเม็ดออก
  •  ต้นหอม 4 ต้น
  •  ขิง 3 แว่น
  •  กระเทียมสับละเอียด 1 กลีบ

ซอส:
  •  เกลือ ครึ่งช้อนชา
  •  น้ำตาลทราย ครึ่งช้อนชา
  •  ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา
  •  ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา
  •  พริกไทย
  •  น้ำมันงา
  •  น้ำหรือสต็อก
  •  แป้งข้าวโพด 2/3 ช้อนชา ผสมกันกับน้ำ 1 ช้อนชา


วิธีทำ:
  • แล่เนื้อและหมักกับซอสถั่วเหลือง, น้ำตาล, เกลือ, น้ำ, น้ำมัน, แป้งข้าวโพด
  • ลวกเนื้อ ในน้ำมัน
  • ใส่น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ ผัดกระเทียม, ขิง จนหอม เติมซอสและส่วนผสมที่เหลือยกเว้น เนื้อวัวและต้นหอม
  • ใส่เนื้อวัว เคี่ยวนาน ½ชั่วโมง
  • ใส่น้ำแป้งข้าวโพดและต้นหอม ผัดต่อสักครู่


การออกฤทธิ์
  • ควบคุมพลัง(ชี่) บำรุงกระเพาะอาหาร
  • บำรุงพลัง(ชี่), เลือด และหยาง(ธาตุร้อน) เสริมสร้างเส้นเอ็น
  • บรรเทาความวิตกกังวล สงบจิตใจ ปรับปรุงความจำ

ชาเก๊กฮวยเก๋ากี้ บำรุงสายตา

เหมาะกับ

เมนูนี้ เป็นเครื่องดื่มบำรุงสายตาชั้นเยี่ยม แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้สายตามาก หรือเป็นเครื่องดื่มในฤดูร้อน 



ส่วนประกอบ:
 

วิธีทำ
  • ใส่เก๊กฮวยและเก๋ากี้ลงในแก้ว 
  • ชงทิ้งน้ำเร็วๆด้วยน้ำร้อน
  • เติมน้ำร้อนทิ้งไว้จนกลิ่นเริ่มออก จึงดื่ม
  • เติมน้ำร้อนชงได้อีกจนกว่าสมุนไพรจะจืด

การออกฤทธิ์
  • สงบตับ ดับร้อน
  • ปรับการมองเห็น
  • ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด
  • บำรุงเลือด บำรุงตับ

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ไก่/หมูตุ๋นเครื่องยาจีน

เหมาะสำหรับ

บำรุงทั่วไป หรือผู้ป่วยช่วงพักฟื้น บำรุงผู้สูงอายุ


ส่วนประกอบ
 

เครื่องปรุงอื่น
  • ไก่หนึ่งตัว หรือกระดูกหมู หนึ่งกิโล
  • พริกไทยดำ
  • เกลือป่น ซีอิ๊วขาว
  • ขิง
  • รากผักชี
  • เห็ดหอมแห้ง
 

วิธีทำ
  • ล้างไก่สับเป็นชิ้นๆ แล้วพักไว้
  • นำยาจีนใส่ชามลวกน้ำร้อนทิ้ง แล้วรอไว้
  • ล้างเห็ดหอม แล้วแช่ในน้ำ หั่นเป็นชื้นเล็ก
  • เครื่องที่เหลือล้างน้ำแล้วรอไว้
  • ตั้งน้ำเดือดแล้วใส่เกลือนิดหน่อย เอาไก่ลงลวกให้ตึง เพื่อไม่ให้เลือดออกมาทำให้น้ำซุปขุ่น
  • ต้มน้ำอีกครั้งให้เดือด ใส่เครื่องยาจีนและเครื่องปรุงทั้งหมด
  • พอน้ำเดือดอีกครั้งใส่ไก่เร่งไฟให้น้ำเดือด แล้วหรี่ไฟอ่อน
  • ช้อนฟองออกไป จะได้น้ำซุปที่ใส
  • ตุ๋น หรือต้มด้วยไฟอ่อน 4 - 6 ชั่วโมง
  • สรรพคุณส่วนใหญ่อยู่ที่น้ำซุปแล้ว จึงควรรับประทาน น้ำซุปให้หมด

สรรพคุณของตำรับ

บำรุงพลัง(ชี่), บำรุงระบบดูดซึมสารอาหาร, บำรุงตับ ไต สายตา, บำรุงเลือด ปรับการไหลเวียนของเลือด และพลัง(ชี่) 

ชาชวงป่วยบ้อ ใบสะระแหน่กับน้ำผึ้ง

เหมาะกับ

ร้อน ไอ เสมหะข้น หยินพร่อง


ส่วนประกอบ:
  
ชวงป่วยบ้อ

วิธีทำ
  • ล้างชวงป่วยบ้อ สะเด็ดน้ำแล้วพักไว้
  • ล้างป่อห่อ ทิ้งก้านเพื่อไม่ให้รสขม
  • ใส่ชวงป่วยบ้อ ป่อห่อ และน้ำ 1 ลิตร ลงในโถ ปิดฝาให้สนิท
  • แช่โถในน้ำเดือดนาน 1 ชั่วโมง
  • เติมน้ำผึ้งและผสมให้เข้ากัน
  • ต้มนาน 10 นาที


การออกฤทธิ์
  • ดับร้อน เปลี่ยนเสมหะ หยุดอาการไอ
  • ขับลมร้อนโดยเฉพาะจากบริเวณศีรษะ - ไข้ปวดศีรษะ ตาแดง ไอ เจ็บคอ
  • รักษาหยินพร่องเรื้อรังหยิน ขากเสมหะออกยาก เลือดปนเสมหะ เหมาะสำหรับอาการไอที่มีความรู้สึกแน่นหน้าอก

สลัดบรอกโคลี เก๊กฮวย

เหมาะกับ

ความร้อนส่วนเกิน, พิษร้อน, ความแห้งกร้าน / ป้องกันโรคมะเร็ง, ฟื้นฟูร่างกายจากเคมีบำบัดหรือฉายรังสี, ตาแดง, ผิวแห้ง, สิว, ปวดหัว, ความดันโลหิตสูง ฯลฯ


ส่วนประกอบ:
  • เห็ดหูหนูขาวชนิดแห้ง 20 กรัม
  • ดอกเก๊กฮวย 菊花 (Ju Hua) แห้ง 1 หยืบมือ
  • บรอกโคลีหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ
  • ซีอิ๊ว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันงา 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือสารให้ความหวานธรรมชาติอื่น ๆ 1/2 ช้อนชา
 
 
ดอกเก็กฮวย

เห็ดหูหนูขาว แห้ง

วิธีทำ
  •  แช่เห็ดหูหนูขาวในน้ำ ประมาณ 15 ถึง 20 นาที แล้วสะเด็ดน้ำ ล้างและตัดฐานที่แข็งออก แล้วหั่นเป็นเส้นกว้าง 1/4 นิ้ว ล้างเก๊กฮวยในน้ำอุ่นเล็กน้อย ครู่หนึ่งแล้วสะเด็ดน้ำออก
  • ต้มน้ำให้เดือด ใส่ดอกเก๊กฮวยลงต้มจนกลิ่นออก จึงช้อนเอาดอกเก๊กฮวยขึ้น ใส่เห็ดหธหนู และบร๊อกโคลี่ลงต้มต่อให้บร๊อกโคลี่นุ่ม แต่ไม่เละ สะเด็ดน้ำ ผึ่งให้แห้ง
  • ผสมเครื่องปรุงรสในชามเล็ก ให้ได้รสชาติตามชอบ เพื่อทำเป็นน้ำสลัด
  • เสริฟบร๊อกโคลี่ เห็ดหูหนู พร้อมน้ำสลัด


การออกฤทธิ์
  • ดับร้อน
  • ล้างพิษร้อน
  • หล่อเลี้ยงสารเหลวในร่างกาย
  • บำรุงหยิน

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ชาโสมเอี่ยเซียม หลินจือ เก๋ากี้ พุทราแดง

เหมาะกับ

ชี่ เลือด และหยินพร่อง โลหิตจาง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, นอนไม่หลับ, ภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรคเอดส์, เคมีบำบัด, การรักษาด้วยรังสี ฯลฯ


ส่วนประกอบ:

ขิงสด (Sheng Jiang) 3 แว่น
น้ำตาลทรายแดง (หงถัง) ความหวานตามชอบ
  


วิธีทำ

1. ล้างสมุนไพรทั้งหมด
2. ล้างขิงสดและหั่นเป็นชิ้น
3. ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อ เติมน้ำ 1.5 ลิตรแล้วนำไปต้ม
4. เคี่ยวด้วยไฟกลางเป็นเวลา 10 นาที
5. เพิ่มน้ำตาลทรายแดง ดื่มขณะยังอุ่น หรืออุณหภูมิห้อง


การออกทธิ์

บำรุงชี่ และเลือด
บำรุงม้าม กระเพาะอาหาร และหยินของไต
สงบจิตใจ
หล่อเลี้ยงหยินของปอด และสร้างของเหลวในร่างกาย
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ไก่ตุ๋นปักคี้

เหมาะสำหรับ ไอ อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เบาหวาน ส่วนประกอบ สมุนไพร ปักอึ่งคี้ 50 กรัม ส่วนประกอบอื่น ไก่ 1 ตัว ต้นหอม 20 กรัม ขิง 15 กรัม ไวน์ทำอา...