วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เช็งโป๋วเลี้ยง 清补凉汤 เมนูของคาว


เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ระบบย่อยอ่อนแอ ผู้ที่มีอาการร้อน วิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ ไตทำหน้าที่กักเก็บไม่ดี อาการที่แสดงออก เช่น ปัสสาวะรดที่นอน หรือ ฝันเปียกเป็นประจำ



ส่วนประกอบ
สมุนไพร
  • ลูกเดือย 薏苡仁 20 กรัม
  • ลูกบัว 蓮子 20 กรัม
  • เขี่ยมซิก 芡实 7 กรัม
  • แปะฮะ 百合 15 กรัม
  • ไหว่ซัว  山藥 20 กรัม
  • ลำไยแห้ง 龙眼肉 7 กรัม
  • เก๋ากี้  枸杞子 10 กรัม
ส่วนประกอบอื่นๆ
  • ซี่โครงหมู 300 กรัม
  • เกลือ



วิธีทำ 
  • แช่ เม็ดบัว แปะฮะ เขี่ยมซิก ไหว่ซัว ลูกเดือย ในน้ำสะอาด 2-3 ชั่วโมง
  • รินน้ำที่แช่สมุนไพรทิ้ง
  • เติมน้ำใส่หม้อต้ม
  • เมื่อน้ำเดือด ใส่ซี่โครงหมู และสมุนไพรทั้งหมด รวมทั้งลำไยแห้ง และเก๋ากี้ ลงในหม้อ
  • เมื่อน้ำเดือดให้หรี่เป็นไฟอ่อน เคี่ยวต่อนาน 2 ชั่วโมง เมื่อไหว่ซัวเริ่มเปลี่ยนเป็นใส ก็ใช้ได้
  • ปรุงรสด้วยเกลือ
  • ปิดไฟ พร้อมรับประทาน



กลไกการออกฤทธิ์
ทำให้ม้ามแข็งแรง ขับกระจาย ลม-ชื้น บรรเทาปวด, ดับร้อน บำรุงไต สมานและช่วยในการกักเก็บสาร"จิง" ทำให้ไตทำหน้าที่สม่ำเสมอ บำรุงหยิน ทำให้ปอดชุ่มชื้น หยุดไอ ขจัดร้อนจากหัวใจ สงบจิตใจ, หล่อเลี้ยงหยินของกระเพาะอาหาร บำรุงหัวใจ สงบจิตใจ บำรุงและหล่อเลี้ยงตับ ไต เลือด และหยิน, ทำให้เห็นภาพสว่างขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ไก่ตุ๋นปักคี้

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่พลัง(ชี่)พร่อง ไตอักเสบ เบาหวาน

ส่วนประกอบ
  • ปักอึ่งคี้ 50 กรัม
  • ไก่ 1 ตัว
  • ต้นหอม 20 กรัม
  • ขิง 15 กรัม
  • ไวน์ทำอาหาร 20 กรัม
  • เกลือ
วิธีทำ
  • ล้างไก่ให้สะอาด ใส่ต้นหอม ขิง ปักคี้ ไว้ภายในไก่
  • เติมไวน์ เกลือและน้ำ ต้มด้วยไฟอ่อนนาน 2 ชั่วโมง ..
กลไกการออกฤทธิ์
  • บำรุงพลัง และเลือด
  • อบอุ่นและเสริมม้าม
  • รักษาอาการไอ, หอบหืด, หายใจถี่, เหงื่อออก, เบาหวาน เหนื่อยล้า

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ซุปมะระ ไหว่ซัว เก๋ากี้

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่คอเลสเตอรอลสูงและโรคเบาหวาน

ส่วนประกอบ :
สมุนไพรจีน
ส่วนประกอบอื่น
  • เนื้อหมู 50 กรัม
  • มะระจีน 50 กรัม
  • ต้นหอม 5 กรัม
  • ขิง 5 กรัม
  • เกลือ 2 กรัม
  • พริกไทยขาว 1 กรัม
  • น้ำสต็อกไก่

 วิธีทำ :
  • ล้าง และหั่น มะระ ไหว่ซัว และเนื้อหมู
  • ซอยขิงและต้นหอม
  • ผัด ขิง ต้นหอม และเนื้อหมู ให้มีกลิ่นหอม
  • เติมน้ำสต๊อคไก่ ไหว่ซัว เก๋ากี้ และเครื่องปรุงรสลงต้มต่อจนเดือด
  • ใส่มะระลงเคี่ยวต่อ 10 นาที

การออกฤทธิ์
บำรุงไตเสริมสร้างม้าม

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ซุปหมูผักสลัดน้ำ

เหมาะสำหรับ 
ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ หรือความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ


ส่วนประกอบ
สมุนไพรจีน
  • เห่งยิ้ง 9 กรัม
  • หล่อฮั้งก้วย 1 ลูก
  • ตั่วจ้อ 6 ลูก
ส่วนประกอบอื่น
  • ผักสลัดน้ำ (Watercress) 360 กรัม
  • หมู 360 กรัม

วิธีทำ
  • ทำความสะอาดส่วนประกอบทั้งหมด
  • ต้มทั้งหมดกับน้ำ 6 ถ้วยตวง เป็นเวลา 3 ชั่วโมงด้วยไฟอ่อน
  • ปรุงรสตามชอบด้วยเกลือ

กลไกการออกฤทธิ์
 ล้างความร้อน หล่อเลี้ยงให้ปอดชุ่มชื่น ขจัดเสมหะ หยุดอาการไอ

เครื่องดื่มสิ่วโอวน้ำผึ้ง

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ความดันโลหิตสูง,เลือดของสมองพร่อง หงุดหงิดง่าย เวียนศีรษะบ่อย ผมหลุดร่วงง่าย

ส่วนประกอบ
สมุนไพรจีน
 ส่วนประกอบอื่น
  • น้ำผึ้ง
 วิธีทำ
  • นำสิ่วโอว และตังเซียม ใส่น้ำ 600 cc ต้ม
  • เมื่อน้ำเดือด ให้ต้มต่ออีก 10 นาที
  • นำน้ำยาที่ได้ผสมน้ำผึ้งคนให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จพร้อมดื่ม  (สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น ตามชอบ)
กลไกการออกฤทธิ์
บำรุงตับและไต บำรุงเลือด เสริม"จิง" บำรุง"จงเจียว" เสริมพลัง(ชี่) ช่วยสร้างสารเหลวในร่างกาย 

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ชากุหลาบเฟนเนลมินท์

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ต้องการผ่อนคลาย หรือระบบย่อยไม่ปกติ ท้องอืด



ส่วนประกอบ:
  • ดอกกุหลาบ 10 กรัม
  • เสียวไหว่เฮียง 小茴香 (Fennel Seeds) 5 กรัม
  • สะระแหน่ 2 ยอด
 


วิธีทำ:
  • ใส่ชาดอกกุหลาบ เสียวไหว่เฮียง และสะระแหน่ ลงในป้านชา หรือแก้วกาแฟมีฝาปิด เติมน้ำเดือด ปิดฝา
  • แช่ไว้ประมาณ 3-5 นาที จนมีกลิ่นหอม
  • รินใส่ลงในถ้วยน้ำชา ตกแต่งด้วยชาดอกกุหลาบตูม
 
การออกฤทธิ์
  • กุหลาบ (Rose Tea) ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ผ่อนคลายตับ ปรับสมดุลประจำเดือน
  • เสียวไหว่เฮียง 小茴香 (Fennel Seeds) ช่วยควบคุมการไหลเวียนของพลัง ปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร
  • สะระแหน่ ช่วยขับลม

ไก่นึ่งเก๋ากี้

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ไตพร่อง ร่างกายอ่อนแอ โลหิตจาง วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว นอกจากนั้นยังเป็นอาหารบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรในระหว่างพักพื้น หรือหลังจากการผ่าตัด


ส่วนประกอบ
สมุนไพรจีน
 
ส่วนประกอบอื่น
  • ไก่ 1 ตัว
  • ต้นหอมหั่นเป็นท่อนๆ 
  • ขิงพอประมาณ 
  • น้ำซุป   
  • เหล้าเหลืองจีน 
  • เกลือและพริกไทย พอประมาณ (ตามชอบ)
 

วิธีทำ
  • ล้างไก่และเอาเครื่องในออกมาให้หมด เสร็จแล้วลวกด้วยน้ำเดือด แล้วตามด้วยน้ำเย็น สะเด็ดให้แห้งแล้วพักไว้
  • นำเม็ดเก๋ากี้ใส่ในท้องไก่ แล้ววางไก่ลงในหม้อดินหรือภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับเอาไปนึ่ง โดยนำไก่วางหงายท้องขึ้นมา
  • ใส่ต้นหอม ,ขิง , เหล้าเหลืองจีน , น้ำซุป ,เกลือและพริกไทยลงไป
  • ตั้งไฟแรง นึ่งประมาณ 2 ชั่วโมง จนไก่สุกนุ่ม เป็นอันเสร็จ พร้อมรับประทาน

กลไกการออกฤทธิ์
บำรุงเลือด ไต และตับ ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง 

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ซี่โครงหมูตุ๋นตังกุย

เหมาะสำหรับ

ผู้ที่เลือดลมพร่อง หรือไหลเวียนไม่สะดวก ระบบย่อยทำงานไม่ปกติ มักท้องอืด หรือมักปวดเมื่อยหลังบริเวณเอวแบบปวดเย็น


ส่วนประกอบ

สมุนไพรจีน
  • ตังกุยเท้า  10 กรัม
  • เก๋ากี้  10 กรัม
  • ชวงเจีย 5 กรัม
  • โป๊ยกั๊ก 5 กรัม
  • กานพลู 5 กรัม
  • พริกไทย 5 กรัม
ส่วนประกอบอื่น
  • ซี่โครงหมู 150 กรัม
  • ขิง
  • เกลือ  
  • ซีอิ๊วขาว  
  • พริกไทยป่นเล็กน้อย
 
วิธีทำ

  • นำซี่โครงหมูมาล้างให้สะอาด และหั่นเป็นท่อนๆ 
  • ต้มน้ำ 4-5 ถ้วยตวงให้เดือด ใส่สมุนไพรทั้งหมดลงต้ม 
  • เมื่อน้ำเดือดให้ใส่ซี่โครงหมูลงต้ม เมื่อน้ำเดือด ให้หรี่ไฟอ่อนๆและเคี่ยวต่อไปอีก 45 นาที หรือให้ซี่โครงหหมูเปื่อยนุ่ม
  • จากนั้นใส่เครื่องปรุงรสคือเกลือ , ซีอิ๊วขาว และพริกไทยป่น ลงไป เคี่ยวต่ออีก 15 นาที เพื่อให้น้ำซุปเข้มข้น  
  • ควรรับประทานร้อนๆ

กลไกการออกฤทธิ์
บำรุงเลือด บำรุงพลัง(ชี่) บำรุงสายตา อบอุ่นไต ม้ามและกระเพาะอาหาร 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สรรพคุณเนื้อสัตว์ในทางการแพทย์แผนจีน

ขึ้นชื่อเรื่องอาหารจีน สิ่งที่เราคิดคิดถึงไม่ใช่เพียงแค่รสชาติอย่างเดียว แต่เรามักจะรับรู้ถึงสรรพคุณของอาหาร โดยเฉพาะอาหารของชาวจีนกวางตุ้งที่นิยมใช้สมุนไพรในการประกอบอาหาร ซึ่งจะได้ทั้งรสชาติ และประโยชน์ทางโภชนาการบำบัดด้วย กล่าวกันว่า ชาวจีนกวางตุ้งในอดีต จะต้องแวะร้านขายยาจีนทุกวันเมื่อไปจ่ายตลาด เพื่อหาซื้อสมุนไพรมาใช้ในการประกอบอาหารในแต่ละมื้อ

ในทางแผนจีน ทุกสิ่งที่เรารับประทานได้ ล้วนมีประโยชน์ หากเรารู้จักคุณลักษณะของสิ่งนั้น และสามารถเลือกใช้คุณลักษณะของสิ่งนั้นให้ตรงกับสภาพร่างกาย หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เราอาจไม่เคยรู้ว่า การเลือกเนื้อสัตว์ในการประกอบอาหารของชาวจีนนั้น ไม่ใช่เพียงเลือกตามความชอบ หากแต่จะเลือกจากคุณลักษณะของเนื้อสัตว์นั้นด้วย

และนี่คือคุณลักษณะของเนื้อสัตว์ในโภชนาการบำบัดแผนจีน

 

  ไก่  

รสและฤทธิ์

เนื้อไก่มีฤทธิ์อุ่น ไข่ไก่มีรสหวาน ฤทธิ์กลาง

สรรพคุณ

เป็นของบำรุงที่มีคุณค่าสูง บำรุงอวัยวะภายใน “โกยไหล่กิม” (กระเพาะไก่) ช่วยบำบัดธาตุพิการ, ดีไก่แก้ไอ เนื้อไก่บำบัดอาการร่างกายผอมแห้ง ความอ่อนเพลียหลังฟื้นไข้ หรือหลังคลอด รักษาโรคมดลูกมีเลือดออก ปรับระดูให้มาเป็นปกติ ข้อควรระวัง แพทย์แผนจีนจัดให้ไก่อยู่ในประเภทสัตว์ปีก ผู้มีอาการวิงเวียนศีรษะเพราะความดันโลหิตสูงจึงไม่ควรรับประทาน

 

 เป็ด 

ตามหลักการแพทย์แผนจีน จัดให้เป็ดอยู่ในกลุ่มสัตว์น้ำ ซึ่งต่างจากไก่ที่อยู่ในกลุ่มสัตว์ปีก

รสและฤทธิ์

รสหวาน ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ร่างกายทรุดโทรม คนชราที่หอบ หรือปวดเอวเป็นประจำ ผู้มีอาการวิงเวียนศีรษะเพราะความดันโลหิตสูง 

 

 หมู 

รสและฤทธิ์

-เนื้อหมูและหนังหมู มีรสหวาน ฤทธิ์เย็น
-ดีหมูรสขมฤทธิ์เย็นจัด
-กระเพาะหมู รสหวาน ชื้น
-ตับหมู รสหวาน ฤทธิ์อุ่น

สรรพคุณ

เนื้อหมูบำรุงกำลัง หนังหมูบำบัดอาการอาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก และปรับระดูให้เป็นปกติ ตับหมูบำรุงเลือด บำรุงกำลัง ทำให้ตาสว่าง ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง ให้รับประทานกระเพาะหมูตุ๋นใส่ลูกบัว ส่วนหญิงที่ระดูมาไม่ปกติ ควรรับประทานหนังหมูครั้งละ 200 กรัม เคี่ยวไฟอ่อนจนเปื่อย ข้อควรระวัง คนอ้วน ผู้ที่เสมหะมาก หรือเป็นความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทานมาก

 

 แพะ,แกะ 

รสและฤทธิ์

-เนื้อ รสหวาน ฤทธิ์อุ่น, -ตับ รสขม ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงร่างกาย ขจัดพิษเย็น เจริญอาหาร บำรุงธาตุ, ตับ บำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และร่างกายอ่อนแอหลังคลอด ให้รับประทานเนื้อแพะ หรือแกะ ตุ๋นตังกุย

 

 วัว 

รสและฤทธิ์

-เนื้อรสหวาน ฤทธิ์อุ่น, -เขา รสขม ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงร่างกายและกระดูก รักษาโรคน้ำคาเนื้อ, นมแก้กระหาย บำรุงหัวใจและปอด, เขาแก้พิษแดดชนิดตัวร้อน มีไข้ ไอเป็นโลหิต หรือเลือดกำเดาออก

 

 ปลาหมึก 

รสและฤทธิ์

-รสเค็ม ฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย

สรรพคุณ

บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ส่วนบน ระบบย่อยพิการ แก้ไอเป็นเลือดเพราะวัณโรค, ลิ้นทะเล สมานแผล ห้มเลือด และเป็นยาต้านกรดด้วย

 

 ปลาช่อน 

รสและฤทธิ์

- รสหวาน ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มักใช้รักษาโรคน้ำคาเนื้อ ทั้งจากโรคไต และโรคหัวใจก็บำบัดได้ผลในระดับหนึ่ง

 

 ปลาไหล 

รส และฤทธิ์

-รสหวาน ฤทธิ์อุ่นมาก

สรรพคุณ

บำรุงลมปราณ บำรุงเลือด แก้ร่างกายทรุดโทรม รักษาโรคริดสีดวงทวาร 

 

 หอยนางรม 

รสและฤทธิ์

-รสเค็ม ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

เป็นของบำรุงที่ดีมากสำหรับผู้ที่ยินทรุดโทรม, เปลือกหอยนางรมเป็นยาระงับประสาท รักษาโรคนอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ น้ำกามไหลโดยไม่รู้ตัว

 

 แมงกะพรุน 

รสและฤทธิ์

-รสเค็ม ฤทธิ์อุ่น

สรรพคุณ

ทำให้ของแข็งอ่อนตัวลง ขจัดเสมหะ ขับพิษลมร้อนในเด็ก มักใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เสมหะสีเหลืองจัด

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กระดูกหมูทอดราดซอสเก๋ากี้

เหมาะสำหรับ
ผู้ทีมีร่างกายอ่อนเพลีย วิงเวียน หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นปรกติ ไตไม่แข็งแรง กามตายด้าน
 



ส่วนประกอบ
  • กระดูกหมู 300 กรัม
  • เก๋ากี้  枸杞子 30 กรัม
  • ซอสมะเขือเทศ , น้ำมันพืช , น้ำตาลทราย , แป้งข้าวโพด , กระเทียม ,ซีอิ๊ว
 

วิธีทำ

  • แช่เก๋ากี้ในน้ำนาน 30 นาที แล้วนำมาต้มน้ำ เคี่ยวให้เป็นน้ำซุปประมาณ 50-60 ซีซี
  • ล้างกระดูกหมูให้สะอาด นำมาสับให้เป็นชิ้นพอคำ แล้วหมักเข้ากับซีอิ๊วกระเทียม ทิ้งไว้ 30 นาที
  • ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช ตั้งจนร้อน แล้วนำกระดูกหมูที่หมักทิ้งไว้มาทอด จนสุกเหลืองกรอบ แล้วยกขึ้นพักไว้
  • ตั้งกระทะ ใส่น้ำซุปเก๋ากี้ ปรุงรสตามชอบด้วย ซอสมะเขือเทศ น้ำตาลทราย  พอเดือดได้ที่ ใส่แป้งมันที่ผสมน้ำแล้วลงไป เคี่ยวจนเหนียวข้นได้ที่ ให้เดือดแล้วยกลง
  • นำน้ำซอสน้ำแดงที่ได้ มาราดลงบนกระดูกหมูที่ทอดเสร็จเตรียมไว้ในจาน เป็นอันเสร็จ พร้อมเสริฟ


กลไกการออกฤทธิ์
บำรุงตับ ไต เลือด และหยิน เสริมสารจำเป็น"จิง" ทำให้ภาพสว่างขึ้น ทำให้ปอดชุ่มชื้น

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ข้าวต้มเก๋ากี้

เหมาะสำหรับ ผู้ที่มองภาพไม่ชัดในเวลากลางคืน เลือดพร่อง ไตอ่อนแอ
 

ส่วนประกอบ
  • เก๋ากี้ 15-30 กรัม
  • ข้าวสาร 50 กรัม
วิธีทำ

  • ต้มเก๋ากี้กับข้าวสาร ให้เป็นข้าวต้ม 
  • รับประทานได้ทั้งหมด

สรรพคุณ

บำรุงไต บำรุงเลือด ช่วยให้ตาสว่าง เหมาะสำหรับผู้ที่ตับไตไม่แข็งแรง ปวดหลัง ปวดหัวเข่า เวียนศีรษะ ตาลาย

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ไซรัปโงวบี่อั่งจ้อ

เหมาะสำหรับ
ผู้ที่เลือดพร่องจาก ตับและไตอ่อนแอ และระบบดูดซึมไม่ดี

ส่วนผสม:
 1. โงวบี่จี้ 五味子 Wu Wei Zi 60 กรัม
 3. น้ำผึ้ง 蜂蜜 200 มล

วิธีทำ
 1. ล้างโงวบี่จี้ และอั่งจ้อ แล้วต้มด้วยน้ำ 3 ลิตร ด้วยไฟอ่อน ให้เหลือน้ำ 1.5 ลิตร
 2. รินเฉพาะน้ำใส่เหยือกหรือโถที่มีฝาปืด
 3. เติมน้ำผึ้งแล้วคนให้ทั่ว ปิดฝานึ่งด้วยความร้อนต่ำเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง
 4. ทานครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ วันละสองครั้ง

การออกฤทธิ์
 1. บำรุงตับและไต สร้างของเหลวในร่างกาย ดับกระหาย สงบจิตใจ
 2. เสริมสร้างม้าม เสริมพลัง(ชี่) บำรุงเลือด ทำให้ตับกลมกลืน
 3. หล่อเลี้ยงส่วนที่แห้งกร้าน บำรุงส่วนที่พร่อง

ไก่ตุ๋นปักคี้

เหมาะสำหรับ ไอ อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เบาหวาน ส่วนประกอบ สมุนไพร ปักอึ่งคี้ 50 กรัม ส่วนประกอบอื่น ไก่ 1 ตัว ต้นหอม 20 กรัม ขิง 15 กรัม ไวน์ทำอา...