วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สรรพคุณเนื้อสัตว์ในทางการแพทย์แผนจีน

ขึ้นชื่อเรื่องอาหารจีน สิ่งที่เราคิดคิดถึงไม่ใช่เพียงแค่รสชาติอย่างเดียว แต่เรามักจะรับรู้ถึงสรรพคุณของอาหาร โดยเฉพาะอาหารของชาวจีนกวางตุ้งที่นิยมใช้สมุนไพรในการประกอบอาหาร ซึ่งจะได้ทั้งรสชาติ และประโยชน์ทางโภชนาการบำบัดด้วย กล่าวกันว่า ชาวจีนกวางตุ้งในอดีต จะต้องแวะร้านขายยาจีนทุกวันเมื่อไปจ่ายตลาด เพื่อหาซื้อสมุนไพรมาใช้ในการประกอบอาหารในแต่ละมื้อ

ในทางแผนจีน ทุกสิ่งที่เรารับประทานได้ ล้วนมีประโยชน์ หากเรารู้จักคุณลักษณะของสิ่งนั้น และสามารถเลือกใช้คุณลักษณะของสิ่งนั้นให้ตรงกับสภาพร่างกาย หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เราอาจไม่เคยรู้ว่า การเลือกเนื้อสัตว์ในการประกอบอาหารของชาวจีนนั้น ไม่ใช่เพียงเลือกตามความชอบ หากแต่จะเลือกจากคุณลักษณะของเนื้อสัตว์นั้นด้วย

และนี่คือคุณลักษณะของเนื้อสัตว์ในโภชนาการบำบัดแผนจีน

 

  ไก่  

รสและฤทธิ์

เนื้อไก่มีฤทธิ์อุ่น ไข่ไก่มีรสหวาน ฤทธิ์กลาง

สรรพคุณ

เป็นของบำรุงที่มีคุณค่าสูง บำรุงอวัยวะภายใน “โกยไหล่กิม” (กระเพาะไก่) ช่วยบำบัดธาตุพิการ, ดีไก่แก้ไอ เนื้อไก่บำบัดอาการร่างกายผอมแห้ง ความอ่อนเพลียหลังฟื้นไข้ หรือหลังคลอด รักษาโรคมดลูกมีเลือดออก ปรับระดูให้มาเป็นปกติ ข้อควรระวัง แพทย์แผนจีนจัดให้ไก่อยู่ในประเภทสัตว์ปีก ผู้มีอาการวิงเวียนศีรษะเพราะความดันโลหิตสูงจึงไม่ควรรับประทาน

 

 เป็ด 

ตามหลักการแพทย์แผนจีน จัดให้เป็ดอยู่ในกลุ่มสัตว์น้ำ ซึ่งต่างจากไก่ที่อยู่ในกลุ่มสัตว์ปีก

รสและฤทธิ์

รสหวาน ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ร่างกายทรุดโทรม คนชราที่หอบ หรือปวดเอวเป็นประจำ ผู้มีอาการวิงเวียนศีรษะเพราะความดันโลหิตสูง 

 

 หมู 

รสและฤทธิ์

-เนื้อหมูและหนังหมู มีรสหวาน ฤทธิ์เย็น
-ดีหมูรสขมฤทธิ์เย็นจัด
-กระเพาะหมู รสหวาน ชื้น
-ตับหมู รสหวาน ฤทธิ์อุ่น

สรรพคุณ

เนื้อหมูบำรุงกำลัง หนังหมูบำบัดอาการอาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก และปรับระดูให้เป็นปกติ ตับหมูบำรุงเลือด บำรุงกำลัง ทำให้ตาสว่าง ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง ให้รับประทานกระเพาะหมูตุ๋นใส่ลูกบัว ส่วนหญิงที่ระดูมาไม่ปกติ ควรรับประทานหนังหมูครั้งละ 200 กรัม เคี่ยวไฟอ่อนจนเปื่อย ข้อควรระวัง คนอ้วน ผู้ที่เสมหะมาก หรือเป็นความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทานมาก

 

 แพะ,แกะ 

รสและฤทธิ์

-เนื้อ รสหวาน ฤทธิ์อุ่น, -ตับ รสขม ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงร่างกาย ขจัดพิษเย็น เจริญอาหาร บำรุงธาตุ, ตับ บำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และร่างกายอ่อนแอหลังคลอด ให้รับประทานเนื้อแพะ หรือแกะ ตุ๋นตังกุย

 

 วัว 

รสและฤทธิ์

-เนื้อรสหวาน ฤทธิ์อุ่น, -เขา รสขม ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงร่างกายและกระดูก รักษาโรคน้ำคาเนื้อ, นมแก้กระหาย บำรุงหัวใจและปอด, เขาแก้พิษแดดชนิดตัวร้อน มีไข้ ไอเป็นโลหิต หรือเลือดกำเดาออก

 

 ปลาหมึก 

รสและฤทธิ์

-รสเค็ม ฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย

สรรพคุณ

บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ส่วนบน ระบบย่อยพิการ แก้ไอเป็นเลือดเพราะวัณโรค, ลิ้นทะเล สมานแผล ห้มเลือด และเป็นยาต้านกรดด้วย

 

 ปลาช่อน 

รสและฤทธิ์

- รสหวาน ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มักใช้รักษาโรคน้ำคาเนื้อ ทั้งจากโรคไต และโรคหัวใจก็บำบัดได้ผลในระดับหนึ่ง

 

 ปลาไหล 

รส และฤทธิ์

-รสหวาน ฤทธิ์อุ่นมาก

สรรพคุณ

บำรุงลมปราณ บำรุงเลือด แก้ร่างกายทรุดโทรม รักษาโรคริดสีดวงทวาร 

 

 หอยนางรม 

รสและฤทธิ์

-รสเค็ม ฤทธิ์เย็นจัด

สรรพคุณ

เป็นของบำรุงที่ดีมากสำหรับผู้ที่ยินทรุดโทรม, เปลือกหอยนางรมเป็นยาระงับประสาท รักษาโรคนอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ น้ำกามไหลโดยไม่รู้ตัว

 

 แมงกะพรุน 

รสและฤทธิ์

-รสเค็ม ฤทธิ์อุ่น

สรรพคุณ

ทำให้ของแข็งอ่อนตัวลง ขจัดเสมหะ ขับพิษลมร้อนในเด็ก มักใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เสมหะสีเหลืองจัด

ไก่ตุ๋นปักคี้

เหมาะสำหรับ ไอ อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เบาหวาน ส่วนประกอบ สมุนไพร ปักอึ่งคี้ 50 กรัม ส่วนประกอบอื่น ไก่ 1 ตัว ต้นหอม 20 กรัม ขิง 15 กรัม ไวน์ทำอา...